วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2553

วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2553

ตลาดน้ำลำตะคอง

ความคืบหน้าโครงการตลาดน้ำลำตะคอง
นายสุรวุฒิ เชิดชัย นายกเทศมนตรีนครนครราชสีมา เปิดเผยว่า สำหรับความคืบหน้าโครงการตลาดน้ำลำตะคอง ขณะนี้ได้มีการวางโครงสร้างทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว อีกทั้งยังได้ผ่านสภาเทศบาลนครนครราชสีมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยกำหนดพื้นที่บริเวณลำน้ำลำตะคองภายในวัดสุสานเป็นจุดหลัก เนื่องจากเหมาะกับการทำตลาดน้ำ ทั้งในเรื่องสภาพลำน้ำที่มีตลิ่งต่ำ ใกล้ชุมชน มีทัศนียภาพที่สวยงาม และมีพื้นที่รองรับหากจะมีการขยายพื้นที่ของตลาดน้ำต่อไป โดยจะใช้ชื่อว่า ตลาดน้ำสุขสันต์ และจะดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในปลายปี 2552 นี้ เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของประชาชนทั้งจากจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดใกล้เคียง อีกทั้งยังมุ่งหวังให้เป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยว โดยคาดว่าโครงการตลาดน้ำจะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวให้กับจังหวัดนครราชสีมา และกระตุ้นเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นในชุมชน อีกทั้งยังใช้เป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าและเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนในตัวเมืองนครราชสีมาด้วย สำหรับโครงสร้างนั้นทางอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เป็นผู้เขียนแบบการก่อสร้างตลาดน้ำในครั้งนี้ โดยได้ใช้พื้นที่ของวัดสุสานเป็นหลัก โดยจะทำการสร้างอาคารร้านค้ากึ่งถาวร เป็นรูปแบบที่ทันสมัย ติดสัญญาณอินเตอร์เน็ท และปูกระเบื้องลวดลายต่างๆ รวมทั้งตกแต่งด้วยต้นไม้นานาพันธุ์ เพื่อให้เหมาะสม และสวยงามในการเป็นจุดพักผ่อนหย่อนใจและจับจ่ายซื้อของ ภายใต้งบประมาณจำนวนกว่า 5 ล้านบาท นอกจากนี้ ทางเทศบาลนครนครราชสีมา ได้ทำการศึกษาและทดลองหาพลังงานสะอาดมาร่วมใช้ในตลาดน้ำดังกล่าวด้วย ซึ่งอยู่ระหว่างขั้นตอนการศึกษาว่าจะสามารถนำพลังงานชนิดใดมาใช้ได้ เพื่อช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อม

วันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2553

วันครู ประจำปี 2553





วันครู ประจำปี 2553





คำขวัญที่ชนะเลิศการประกวดเป็นคำขวัญวันครู พ.ศ. 2553 ผลการตัดสินปรากฏว่า รางวัลชนะเลิศ


ได้แก่.....

น้อมจิตวันทา บูชาคุณครู กตัญญูกตเวที”


ของนายกันทา วงศ์จันทร์ทิพย์ จังหวัดลำพูน

เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและสารสนเทศทางการศึกษา

เนื้อหาเกี่ยวกับนวัตกรรม

ชื่อผลงานวิจัย นวัตกรรมเพื่อนสอนเพื่อน
LEARNING INNOVATION : PEER GROUPS TEACHIING
ชื่อผู้วิจัย นางนันท์ ณภัทร โคตรอาษา
ตำแหน่ง ครูชำนาญการพิเศษกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
วุฒิการศึกษา กศ.บ , ศศม.
สถานที่ติดต่อ โรงเรียนสิรินธร อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
ระยะเวลาทำการวิจัย ตุลาคม 2550 – กุมภาพันธ์ 2551
ปีที่ทำการวิจัยเสร็จ 2551

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาวิธีจัดระบบการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมเพื่อนสอนเพื่อน โดยใช้เนื้อหาวิชาชีววิทยาเป็นสื่อในการเรียนรู้ เพื่อนำผลการวิจัยที่ได้เป็นแนวทางพัฒนาปรับปรุง วิธีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญให้ดียิ่งขึ้น (2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสิรินธร อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ที่เรียนรู้โดยวิธีทำโครงงานพัฒนานวัตกรรมเพื่อนสอนเพื่อน (3) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของนวัตกรรมเพื่อนสอนเพื่อนโดยใช้เนื้อหาวิชาชีววิทยา บทที่21 เรื่องระบบนิเวศ บทที่ 22 เรื่องประชากร และบทที่ 23 เรื่องมนุษย์กับความยั่งยืน ของสิ่งแวดล้อม รวม 12 หน่วย เป็นสื่อในการเรียนรู้ (4) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ ที่ทำให้นักเรียนได้พัฒนาตนเองด้านความดี ความเก่งและการเรียนรู้อย่างมีความสุข จากการดำเนินโครงงานการพัฒนานวัตกรรมเพื่อนสอนเพื่อน
กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสิรินธร จังหวัดสุรินทร์ ที่เรียนวิชา
ชีววิทยา ปีการศึกษา 2550 จำนวน 91 คน โดยเลือกสุ่มแบบกลุ่ม การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนานวัตกรรมที่เป็นวิธีการ (Method) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีดังนี้ (1) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, แบบประเมินผลการจัดกิจกรรมเพื่อนสอนเพื่อน. แบบสอบถาม ประเมินผลที่ได้จากกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (2) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองและพัฒนาวิธีจัดระบบการเรียนรู้ ได้แก่ชุดเตรียมนักเรียนให้รู้วิธีเรียน ดำเนินการโดยออกแบบพัฒนาวิธีการและพัฒนาชุด ฝึกให้นักเรียนเรียนรู้วิธีเรียน เป็นกลุ่มร่วมมือร่วมใจใช้บทบาทของนักเรียนเป็นแนวทางในการปฏิบัติและ ใช้เนื้อหาวิชาชีววิทยา เป็นสื่อในการเรียนรู้ ผ่านกิจกรรมที่เป็นระบบที่เรียกว่า “การเรียนรู้ร่วมกันโดยวิธี ทำโครงงาน” ประกอบด้วยกระบวนการ (1) มีการสำรวจ (Explore) (2) มีการสร้าง (Create) (3) มีการสื่อสาร (Communication) (4) มีการสะท้อนกลับ (Reflect) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดผลงานนักเรียน(Portfolio) ได้แก่ “รายงานผลการพัฒนานวัตกรรมเพื่อนสอนเพื่อน วิชาชีววิทยา(ว43245) ชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 6

Innovation

Innovation is a new way of doing something or "new stuff that is made useful"[1]. It may refer to incremental and emergent or radical and revolutionary changes in thinking, products, processes, or organizations. Following Schumpeter (1934), contributors to the scholarly literature on innovation typically distinguish between invention, an idea made manifest, and innovation, ideas applied successfully in practice. In many fields, something new must be substantially different to be innovative, not an insignificant change, e.g., in the arts, economics, business and government policy. In economics the change must increase value, customer value, or producer value. The goal of innovation is positive change, to make someone or something better. Innovation leading to increased productivity is the fundamental source of increasing wealth in an economy. Innovation is the most important thing for the human survival.

Innovation is an important topic in the study of economics, business, design, technology, sociology, and engineering. Colloquially, the word "innovation" is often synonymous with the output of the process. However, economists tend to focus on the process itself, from the origination of an idea to its transformation into something useful, to its implementation; and on the system within which the process of innovation unfolds. Since innovation is also considered a major driver of the economy, especially when it leads to increasing productivity, the factors that lead to innovation are also considered to be critical to policy makers. In particular, followers of innovation economics stress using public policy to spur innovation and growth.

Those who are directly responsible for application of the innovation are often called pioneers in their field, whether they are individuals or organisations.

แหล่งที่มา http: //en.wikipedia.org/wiki/innovation

ความหมายของนวัตกรรม

“นวัตกรรม” หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย

“นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม” แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฎิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย (พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ , Xaap.com)

คำว่า “นวัตกรรม” เป็นคำที่ค่อนข้างจะใหม่ในวงการศึกษาของไทย คำนี้ เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation มาจากคำกริยาว่า innovate แปลว่า ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ ในภาษาไทยเดิมใช้คำว่า “นวกรรม” ต่อมาพบว่าคำนี้มีความหมายคลาดเคลื่อน จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า นวัตกรรม (อ่านว่า นะ วัด ตะ กำ) หมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ว่าวงการหรือกิจการใด ๆ ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม ของวงการนั้น ๆ เช่นในวงการศึกษานำเอามาใช้ ก็เรียกว่า “นวัตกรรมการศึกษา” (Educational Innovation) สำหรับผู้ที่กระทำ หรือนำความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ มาใช้นี้ เรียกว่าเป็น “นวัตกร” (Innovator) (boonpan edt01.htm)

ทอมัส ฮิวช์ (Thomas Hughes) ได้ให้ความหมายของ “นวัตกรรม” ว่า เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว เริ่มตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของ โครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา (boonpan edt01.htm)

มอร์ตัน (Morton,J.A.) ให้ความหมาย “นวัตกรรม” ว่าเป็นการทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง(Renewal) ซึ่งหมายถึง การปรับปรุงสิ่งเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงาน หรือองค์การนั้น ๆ นวัตกรรม ไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการ ปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนา (boonpan edt01.htm)

ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2521 : 14) ได้ให้ความหมาย “นวัตกรรม” ไว้ว่าหมายถึง วิธีการปฎิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิมโดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลอง พัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฎิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น

จรูญ วงศ์สายัณห์ (2520 : 37) ได้กล่าวถึงความหมายของ “นวัตกรรม” ไว้ว่า “แม้ในภาษาอังกฤษเอง ความหมายก็ต่างกันเป็น 2 ระดับ โดยทั่วไป นวัตกรรม หมายถึง ความพยายามใด ๆ จะเป็นผลสำเร็จหรือไม่ มากน้อยเพียงใดก็ตามที่เป็นไปเพื่อจะนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ทำอยู่เดิมแล้ว กับอีกระดับหนึ่งซึ่งวงการวิทยาศาสตร์แห่งพฤติกรรม ได้พยายามศึกษาถึงที่มา ลักษณะ กรรมวิธี และผลกระทบที่มีอยู่ต่อกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง คำว่า นวัตกรรม มักจะหมายถึง สิ่งที่ได้นำความเปลี่ยนแปลงใหม่เข้ามาใช้ได้ผลสำเร็จและแผ่กว้างออกไป จนกลายเป็นการปฏิบัติอย่างธรรมดาสามัญ (บุญเกื้อ ควรหาเวช , 2543)

http://school.obec.go.th/sup_br3/t_1.htm